Flickr

Blogroll

DPMO คือ

คำว่า DPMO  ที่ย่อมาจาก Defects per million opportunities หมายถึง จำนวนของเสียต่อการปัฎิบัติการหนึ่งล้านครั้ง ยกตัวอย่าง เช่น '' เราผลิตงานมา1ล้านชิ้นแล้วเกิดของเสีย 1 ชิ้น เราจะเรียกว่า 1 DPMO'' เพราะฉนั้นแล้วจำนวน DPMO จะเพิ่มขึ้น เมื่อเกิดของเสียเพิ่มขึ้นเทียบกับจำนวนการผลิต โดยในหลักการของ Six sigma แล้ว เราต้องหาค่าผลิตภาพของกระบวนการซึ่งมีหน่วยเป็น DPMO นั้นเอง
โดยเราสามารถคำนวณค่า DPMO ได้จาก สูตรด้านล่าง


เมื่อเราคำนวณออกมาแล้วเราจะได้ค่าผลิตภาพของกระบวนการผลิตออกมาหรือเรียกว่าค่า DPMO จากนั้นเราจะต้องนำไปเปรียบเทียบกับตาราง Six sigma ว่าเราจะได้กี่ sigma และเราควรมีการปรับปรุ่งกระบวนการผลิตเพิ่มเติมตรงไหนเพื่อให้จำนวนของเสียลดลง  ท่านที่สนใจเข้าไปที่ บทความ Six sigma เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม

ตารางเทียบระดับของ ซิกมา
ตัวอย่างการคำนวน DPMO เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยผมจะยกตัวอย่างกับงานที่ผมทำอยู่ตอนนี้นะครับโดยใช้ Excel ในการคำนวณแบบง่าย

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับรูปก่อนนะครับโดยผมจะอ้างถึงปี 2012 
1. Total joint defect เป็นช่องที่ใส่จำนวนของเสียทั้งหมดที่ผลิตออกมา
2. Total joint เป็น ช่องที่ใส่ จำนวนงานที่ผลิตทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นงานดีหรืองานเสีย
3. Defect by DPMO ช่องนี้เป็นช่องผลการคำนวณค่า DPMO ที่ได้ครับ
วิธีการคำนวณ
1. .ให้เอาค่า 502,057,051 / 33,022*1000000 ก็จะได้ค่า 66 DPMO แล้วครับ และนำไปเปียบเทียบกับตาราง ระดับซิกมาต่อไป

วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะครับและอย่าลืมแวะเข้าไปดูบทความอื่นๆในเว็บผมด้วยนะครับ ขอบคุณที่ให้การรับชม

Six sigma คือ
 
 
 วันนี้จะกล่าวถึงบทความ six sigma ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการใช้ Minitab  อยู่พอสมควรครับ เพราะระบบ six sigma เป็นหัวใจสำคัญของระบบสถิติที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลกครับ เพราะฉนั้นแล้วเราควรรู้จักครับว่า six sigma คืออะไร และมีคุณสมบัติอย่างไร


ซิกส์ซิกม่า(six sigma) คือ
ระดับคุณภาพของกระบวนการผลิตทีจะยอมให้มีของเสียในระบบการผลิตได้เพียง 3.4 ชิ้น ต่อการผลิตสินค้าทั้งหมด 1ล้านชิ้น และนอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ สามารถแก้ไขปัญหาคุณภาพของระบบกการผลิตได้อีกด้วย โดย ซิกส์ซิกมา(six sigma)  นั้นมาจากการประยุกต์ความรู้ทางด้านสถิติมาใช้ โดยสมุมติให้ปรากฎการที่เกิดขึ้นในระบบเป็นการแจกแจงปกติ (normal distribution) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการกะจายเป็นรูประฆังคว่ำ โดยค่าเฉลี่ยที่จุดกึ่งกลางของการกระจายตัว นั้นก็คือค่าทีต้องการ ส่วนค่าซิกมา(sigma) คือ หนึ่งช่วงของความเบียงเบนมาตรฐานที่วัดจากจุดกึ่งกลางดังกล่าว 

จากที่เห็นในรูปจะมีขอบเขตการยอมรับได้อยู่สองส่วนคือ ขอบเขตจำกัดบน(Upper specific limitation)หรือมีชื่อย่อเรียกว่า  ''USL'' และมีขอบเขตจำกัดล่างคือ  (Lower specific Limitation) หรือมีชื่อย่อเรียกว่า  ''LSL'' ซึ่งในค่านิยามของ ซิกส์ซิกมา( six sigma) จะกล่าวไว้ว่า ถ้าขอบเขตบนและล่างอยู่ห่างจากค่าเฉลี่ยเป็น 3 ซิกมาก็จะเรียกว่าระดับ 3 ซิกมา (3 sigma level)แต่ถ้ามีระยะห่างเป็นระยะ 4 ซิกมา ก็จะเรียกว่าระดับ4ซิกมา (4 Sigma level) ตามลำดับ ซึ่งในแต่ละ ระดับจะแบ่งค่าได้ตามตารางด้านล่างนี้ โดยจะสัมพันธ์ กับ รูปกราฟ ด้านบน
  ตาราง นิยาม Sigma level 
 ในตารางข้างต้น คำว่า DPMO หมายถึง จำนวนของเสียต่อการปัฎิบัติการล้านครั้ง (Defects per million Opportunities)

ตาราง ที่ยอมรับให้ใช้ในมาตรฐานระดับของ 6 ซิกมา 
     ตารางนี้จะกล่าวถึงตารางที่นำไปใช้จริงในมาตรฐานของ 6 sigma โดยตารางนี้ถูกทำขึ้นจากการทดลองจริงของ โมโตโรล่า กล่าวคือ จากการทดลองในห้องปัฎิบัติการหรือการทดลองภาคสนาม จะทำให้ค่าเฉลี่ยที่คงตัว แต่เมื่อเวลาผ่านไป ค่าเฉลี่ยที่เคยวัดได้จะเกิดการแกว่งตัว เนื่องจากการเสื่อมสภาพตามการเวลา ทำให้ข้อมูลที่วัดได้ผิดเพี้ยนไป โดยที่ค่าที่ได้จากการทดลองนี้ เรียกว่า ''ระยะสั้น''(Short term) แต่ค่าที่แกว่งตัวในภายหลังนี้ เรียกว่า ''ระยะยาว'' (Long term) 

 โดย โมโตโรล่า ได้แนะนำไว้ว่า ค่าที่แกว่งตัวนี้จะอยู่ในช่วงของ 1.5 ซิกมา แต่ว่าค่าที่ได้มานี้ได้มาจาก ประสบการณ์ของโมโตโรล่าเอง ซึ่งก็ได้มีการพิสูจน์ในเชิงคณิตศาสตร์แล้ว โดยดาววิส โบท ในภายหลังว่า ค่า 1.5 นี้ สมเหตุสมผล ซึ่งค่าที่ได้จะเป็นค่าตามตารางด้านล่างนี้ และค่านี้คือค่าที่ยอมรับให้ใช้ในมาตรฐานของ 6 sigma.

การนำไปใช้
  Six sigma เป็นหลักการที่ถูกประยกต์มาจากวิชาสถิติ ซึ่งแท้จริงแล้วได้มีการพัฒนามาแล้วกว่า 7 ทศวรรษ และเราสามมารถนำไปใช้ร่วมกับเครื่องมือต่างๆได้ เช่นที่นิยมมากทีสุดคือ DMAIC และ DMADV  หรือในกการคำนวนหรือสร้างกราฟ อาจจะต้องใช้ Minitab เข้ามาช่วยก็จะทำให้ง่ายขึ้นใ

ที่มา: http://th.wikipedia.org/